
ฟิล์มกรองแสง ลดความร้อน ผลิตจากพลาสติกโพลีเอสเตอร์ที่มีคุณสมบัติเหนียว ใส เรียบ ยืดหยุ่นน้อย ไม่ดูดซับความชื้น มีความทนทานต่อสภาพอากาศทั้งสูงและต่ำได้เป็นอย่างดี ในเนื้อฟิล์มกรองแสง จะมีวัสดุที่ใช้เพื่อป้องกันความร้อนและรังสียูวี โดยใช้เทคโนโลยี ในการผลิตเป็นชิ้นๆ ผสานด้วยกาวพิเศษเพื่อการยึดเกาะได้อย่างเหนียวแน่น
ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าว จึงเหมาะที่จะนำไปเป็น ฟิล์มอาคาร ฟิล์มคอนโด ฟิล์มโรงแรม ฟิล์มรีสอร์ท ฟิล์มสำนักงาน ฟิล์มที่พักอาศัยและฟิล์มติดกระจกในสถานที่ต่างๆ
โดยปกติแล้วจะมีการเรียก ความเข้มฟิล์ม เป็นฟิล์มกรองแสงเข้ม 40% 50% 60% หรือ 80% ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ตัวเลข 40 50 60 80 ไม่ได้มีความหมายใด ๆ ทางวิทยาศาสตร์ แต่เป็นความเข้าใจผิดของผู้บริโภคตั้งแต่สมัยก่อนที่ฟิล์มกรองแสงเข้ามายังตลาดรถยนต์เมืองไทยครั้งแรก
ด้วยความที่ว่ามีตัวเลือกของ ความเข้มฟิล์มยังมีน้อย คนจึงเรียกฟิล์มที่มีความเข้มมากที่สุดว่าฟิล์ม 80% เข้มน้อยรองลงมาก็คือฟิล์ม 60% หรือ 50% และเข้มน้อยสุด 40% เป็นแบบนี้เรื่อยมา จนมาถึงปัจจุบันนี้ก็ยังเรียกกันผิด
ฟิล์มเข้ม 80 คือฟิล์มที่ยอมให้แสงส่องผ่าน ( VLT ) ได้ประมาณ 5 %
ฟิล์มเข้ม 60 คือฟิล์มที่ยอมให้แสงส่องผ่าน ( VLT ) ได้ประมาณ 20 %
ฟิล์มเข้ม 40 คือฟิล์มที่ยอมให้แสงส่องผ่าน ( VLT ) ได้ประมาณ 40-50 %
และถ้าใสกว่านี้โดยทั่วไปก็จะเรียกว่าฟิล์มใส
ค่าแสงส่องผ่าน (Visible Light Trasmittance) ค่า VLT สูง = สามารถส่องผ่านได้มาก = ทำให้ห้องสว่าง
การสะท้อนของแสง (Visible Light Reflectance) ค่า VLR สูง = มีปริมาณปรอทมาก = แสงสะท้อนได้มาก = สามารถลดความร้อนดี
การป้องกันความร้อน (Infrared Light Rejection) ค่า IR สูง = สามารถลดความร้อนแดด
การลดรังสียูวี (UV Rejection) โดยปกติฟิล์มทุกชนิดจะสามารถป้องกัน UV ได้เท่ากันคือ 99%
หลายๆ คนยังเข้าใจผิดว่า ความเข้มฟิล์ม ยิ่งเข้มหรือทึบ จะช่วยลดความร้อนได้มาก ในความจริงแล้ว สีหรือความทึบของ ฟิล์มกรองแสง ไม่ได้เป็นตัวช่วยลดความร้อน แต่กลับเป็นสารเคลือบตัวอื่นๆ ที่ทำหน้าที่หลักนี้ต่างหาก
ส่วนประกอบของความร้อนที่เราได้รับนั้นมีสัดส่วนและแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
ความสว่างของแสงมีสัดส่วน 44%
รังสีอินฟาเรด (รังสีใต้แดด) มีอยู่ 53%
รังสียูวี (รังสีเหนือม่วง,รังสีอุลตร้าไวโอเลต) มีอยู่ 3%
**ดังนั้น ฟิล์มกรองแสง ที่สามารถลดความร้อนได้ดีควรจะลดรังสีทั้ง 3 ส่วนได้มาก ๆ
ตัวอย่างเช่น หากท่านติดฟิล์มกรองแสง ที่มีความทึบแสงมาก ๆ แต่ฟิล์มกรองแสงนั้น เป็นประเภทฟิล์มย้อมสี หรือเป็นฟิล์มกรองแสงที่ไม่ได้มีส่วนผสมของโลหะ หรือสารพิเศษใด ๆ ท่านจะรู้สึกถึงความร้อนที่ผ่านชั้นผิว ของฟิล์มกรองแสงเข้ามา นั่นก็คือฟิล์มกรองแสงนั้น สามารถลดได้แค่ความสว่างของแสง ที่มีสัดส่วนอยู่ 44% ของแสงสว่างทั้งหมด แต่รังสีอินฟาเรดยังสามารถผ่านทะลุเข้ามาได้จนรู้สึกถึงความร้อน
ในทางกลับกันหากท่านติดฟิล์มกรองแสงที่มีส่วนผสมพิเศษไม่ว่าจะเป็นส่วนผสม ของโลหะ หรืออื่น ๆ แต่ฟิล์มกรองแสงนั้นๆ มีค่าความทึบแสงน้อย(แสงส่องผ่านเข้าไปได้เยอะ) ท่านก็จะรู้สึกถึงความร้อนจากความสว่างของแสงที่ส่องผ่านฟิล์มกรองแสงเข้ามา ส่วนรังสียูวีนั้นเป็นส่วนประกอบน้อยมากของความร้อน (3%) ซึ่งฟิล์มกรองแสงเกือบทั้งหมดสามารถลดรังสียูวีได้มากกว่า 99% อยู่แล้ว
อ่านเพิ่มเติม : สำนักงานร้อน ปัญหาคืออะไร และมีวิธีการแก้ไขอย่างไร?
ประโยชน์ของการติด ฟิล์มกรองแสง ความเข้มฟิล์ม ช่วยลดความร้อน
1. ช่วยป้องกันความร้อนจากภายนอกอาคาร ไม่เข้าผ่านเข้าภายในอาคารทางกระจก สร้างบรรยากาศเย็นสบาย
2. ช่วยลดแสงจ้าของแดด แสงสะท้อนจากภายในอาคาร
3. ช่วยป้องกันรังสี UV ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรงมะเร็งผิวหนังและทำร้ายเฟอร์นิเจอร์ภายในอาคาร ป้องกันผิวหมองคล้ำและการเกิดฝ้าริ้วรอย
4. สร้างความเป็นส่วนตัว โดยไม่บดบังทัศนียภาพ
5. ช่วยลดอันตรายจากการแตกกระจายของกระจก โดยฟิล์มจะยิดเกาะกระจกไม่ให้ร่วงกระจาย
6. สร้างความโดดเด่นทันสมัยให้แก่อาคารที่ติดฟิล์ม อาคารที่ติดฟิล์มกรองแสง จะมีความสวยงามโดดเด่นขึ้นมาจากเงางามของฟิล์มกรองแสงชนิดต่างๆ ซึ่งท่านสามารถเลือกสีของฟิล์ม เพื่อให้เหมาะกับอาคารหรือองค์กรของท่าน
7. ลดภาระค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้า เมื่อเราติดฟิล์มกระจกของตัวอาคารแล้ว การป้องกันไม่ให้ความร้อนผ่านเข้าไปนั้น ช่วยให้เครื่องปรับอากาศไม่ทำงานหนัก เพราะอุณหภูมิที่ลดลงจากการติดฟิล์มกันร้อนนั้น ทำให้ระบบปรับอากาศกินไฟน้อยลง สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าที่เกิดจากระบบปรับอากาศได้ 10-15%
อ่านเพิ่มติม : ลดความร้อน ภายในบ้านด้วยการติด ฟิล์มกรองแสง
ประเภทของฟิล์มกรองแสง กับ ความเข้มฟิล์ม
ฟิล์มกรองแสงแต่ละชนิดเป็นเทคนิคในการผลิตซึ่งแต่ละ ชนิดจะมีคุณสมบัติทางด้านอายุการใช้งานและราคาที่แตกต่างกัน แต่ในส่วนคุณสมบัติอื่น เช่น การลดความร้อนไม่ค่อยแตกต่างกันมากนัก
1. ฟิล์มกรองแสง ธรรมดา
จะไม่มีส่วนผสมของโลหะ หรือสารพิเศษอื่นๆ โดยจะแบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ ประเภทสีผสมกาว, ประเภทย้อมสี, ประเภทสีอยู่บนเนื้อฟิล์ม, ประเภทสีอยู่ในเนื้อฟิล์ม ราคา และอายุการใช้งานก็จะต่างกันออกไป
2. ฟิล์มกรองแสง ชนิดเคลือบไอโลหะ
การนำแผ่นโลหะไปประกบกับฟิล์มแบบธรรมดา ทำให้ป้องกันรังสีอินฟาเรดได้ดี จึงทำให้ฟิล์มประเภทนี้ สามารถลดความร้อนได้เพิ่มมากขึ้น
3. ฟิล์มกรองแสง อนุภาคโลหะ
สารพิเศษหรือฟิล์มอิมฟราเรดสามารถป้องกันรังสีอินฟาเรดได้ดีกว่าปกติ ซึ่งส่วนใหญ่ ฟิล์มกรองแสงประเภทนี้มีความทึบแสงน้อย ซึ่งฟิล์มกรองแสงประเภทนี้มีราคาสูงกว่าฟิล์มกรองแสงชนิดเคลือบแสง
4. ฟิล์มกรองแสง เทคโนโลยีนาโน
สุดยอดนวัตกรรมทางด้านการผลิตฟิล์มที่เกิดขึ้นจากการคัดสรรวัตถุดิบ Nano Material หรือ Nano Particles ต่าง ๆ นำมาใช้ใน การเคลือบกับผิว Polyester ให้มีคุณสมบัติที่เหนือชั้นในแง่การป้องกันคลื่นความร้อน ( IR ) และรังสี UV ได้สูงสุดโดยสามารถป้องกัน รังสี IR ได้กว่า 90% และรังสี UV 100% โดยไม่มีลักษณะสะท้อนเงา หรือมืดทึบเกินไป อีกทั้งมีความคงทน ไม่เกิดสนิม สีไม่ซีดจาง และอายุการใช้งานที่นา
สนใจ ติดฟิล์มกรองแสง คอนโด บ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม สำนักงานออฟฟิต
สำหรับท่านที่สนใจติดฟิล์มกรองแสง ลดความร้อน ป้องกันรังสียูวี เพิ่มความเป็นส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นฟิล์มบ้าน ฟิล์มคอนโด ฟิล์มอาคาร ติดต่อโดยตรงได้ทางไลน์ Line ID : @365film
ทำไมต้องเลือก 365 Building film
- ราคาสินค้าเริ่มต้น 70 บาท ต่อตารางฟุต
- ติดตั้งเร็ว บ้านเดี่ยว คอนโด ภายใน 1 วัน
- ติดโดยช่างมืออาชีพ ประสบการณ์สูง
- บริการวัดพื้นที่ฟรี
- สินค้ารับประกันสูงสุด 10 ปี
- แก้งานติดตั้งฟรี ไม่คิดค่าใช้จ่าย
บริการให้คำปรึกษาก่อนการติดตั้ง ประเมินราคาฟรี!!
ดูผลงานการติดตั้ง